30+กว่า 30 หัวข้อ การประชุมสัมมนาและการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของภาคอุตสาหกรรม
20+กว่า 20 ผู้นำทางความคิดทีมีชื่อเสียงและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2 days2 วัน ของการแบ่งปันความรู้และเนื้อหาจากผู้นำทางความคิดของภาคอุตสาหกรรม
15+กว่า 15 วิทยากรจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 10 ภาคอุตสาหกรรม
เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สู่ไทยแลนด์ 4.0 – เข้าร่วมกับเราในการประชุมเชิงวิชาการ 2 วันนี้
Smart, Safe, and Sustainable Technologies toward Tomorrow
26 & 27 กันยายน | ไบเทค, บางนา
เข้าร่วมการประชุมกับผู้นำทางความคิดตลอด 2 วันกับเรา ที่ซึ่งการผสมผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะ ความปลอดภัย การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ และความยั่งยืน กำลังเป็นตัวกำหนดมาตรฐานใหม่ของภาคอุตสาหกรรมไทย เนื้อหาและหัวข้อของการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ได้รับการดูแลจัดการและกำหนดรูปแบบร่วมกัน จากความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม นักวิชาการชั้นนำจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสมาคมอุตสาหกรรมชั้นนำ จากความพยายามในการทำงานร่วมกันของเรา ทำให้มั่นใจได้ว่าโปรแกรมหัวข้อของการประชุมจะสะท้อนถึงการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีขั้นสูงและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์อัจฉริยะ และเพิ่มความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรม
ด้วยการผสมผสานกันอย่างหลากหลายมิตินี้ ทำให้การประชุมเชิงวิชาการเหล่านี้โดดเด่นทั้งในแง่ของธุรกิจ เทคโนโลยี และกรณีศึกษาเชิงลึก เป็นเวทีที่โดดเด่นไม่เหมือนใครสำหรับผู้นำและนวัตกรของภาคอุตสาหกรรม ในการแลกเปลี่ยนความรู้ จุดประกายการอภิปรายที่มีคุณค่า และพัฒนาเส้นทางใหม่ของนวัตกรรม
การประชุมเชิงวิชาการดังกล่าวสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในอนาคต ที่ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนจะเป็นรากฐานของยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างราบรื่น
"Thailand has been entering the digital transformation era for some time now, especially in recent times when artificial intelligence (AI) technology has played an increasing role. Digital transformation is not only happening in the industrial sector but in almost every sector, both nationally and globally, so creating change in Thailand using technology as an important driving tool is therefore necessary to be implemented as soon as possible, as well as the need to adopt digital technology to help manage safety and preventive maintenance.”
- Prof. Dr. Supoj Tejworasinsakul, Dean of the Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
For more information,
send us an email at
salela.p@exposis.co.th
ความปลอดภัย
ความปลอดภัยในการทำงานจะเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกเน้นย้ำและกล่าวถึง ในขณะที่เรารับมือกับอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีอัจฉริยะ การประชุมเชิงวิชาการของเรามุ่งเน้นไปที่มาตรการเชิงรุกที่ยั่งยืนเพื่อปกป้องผู้ปฏิบัติงานและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย เราจะสำรวจหากลยุทธ์ที่สำคัญในการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน และสร้างแบบอย่างใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น
Immersive Technologies (AR/VR)
ยกระดับการฝึกอบรมด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีที่สมจริงซึ่งผสมผสานการจำลองจาก AR และ VR เข้ากับระบบการบริหารและจัดการการบำรุงรักษาทางปัญญา ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบโต้ตอบและชาญฉลาด เราสามารถเพิ่มหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เพื่อปูทางไปสู่การเป็นพนักงานที่มีทักษะ ตระหนักรู้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
พบกับวิธีเสริมความแข็งแกร่งให้กับภูมิทัศน์ดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยด้วยระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้มั่นใจถึงการทำงานที่ชาญฉลาดและปลอดภัยของเทคโนโลยีที่ยั่งยืนในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันมากขึ้น
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
สำรวจการทำงานแบบบูรณาการของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและการผลิต จัดการเหตุการณ์และเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนผ่านการจัดสรรทรัพยากรที่แม่นยำและชาญฉลาด
เทคโนโลยีและโซลูชั่นการบำรุงรักษา
ผสมผสานเทคโนโลยีและโซลูชั่นการบำรุงรักษาที่ล้ำสมัย ส่งเสริมแนวทางที่ชาญฉลาดในการบำรุงรักษาของภาคอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและอายุการใช้งานที่ยืนยาว เพื่อร่วมสนับสนุนอนาคตของอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนของประเทศไทย
ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI
ใช้ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจฝ่าความซับซ้อนของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างชาญฉลาด ช่วยกำหนดมาตรการความปลอดภัยและการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ในขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ระบบคลาวด์
ทำความเข้าใจวิธีการนำโซลูชั่นระบบคลาวด์มาใช้เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศไทยไปสู่อนาคตที่การเข้าถึงข้อมูลอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย จะช่วยสนับสนุนแนวทางปฏิบัติงานด้านปลอดภัย ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและใช้นวัตกรรมในการทำงานร่วมกัน
อุปกรณ์ตรวจจับ (sensor) IoT และเทคโนโลยี 5G
ยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางที่เชื่อมต่อกันอย่างชาญฉลาดด้วยอุปกรณ์ตรวจจับ (sensor) IoT และเทคโนโลยี 5G เสริมสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัย การตรวจสอบแบบเรียลไทม์ และปรับปรุงการดำเนินงานที่ยั่งยืนในทุกภาคส่วน
ใครควรเข้าร่วมการประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้
- ผู้นำและซีอีโอในภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการติดตามแนวโน้มและทิศทางของเทคโนโลยีล่าสุด และทำความเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างไร
- ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและผู้จัดการฝ่ายไอที ที่กำลังมองหาโซลูชั่นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์อัจฉริยะให้กับกระบวนการผลิตและ/หรือขั้นตอนการทำงานในบริษัทของตน
- เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยและผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ ที่สนใจในกลยุทธ์และเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมและแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน
- เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้กำหนดนโยบาย ด้านกฎระเบียบข้อบังคับของภาคอุตสาหกรรม มาตรฐานความปลอดภัย และการส่งเสริมนวัตกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
- ผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืน ที่มีเป้าหมายในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการขององค์กรให้มีแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น
- นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา จากสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่ต้องการรับรู้ข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและสำรวจการประยุกต์ใช้ที่สามารถปฏิบัติได้จริงในเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่
- ตัวแทนจากสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางอนาคตของอุตสาหกรรมไทย
- ผู้ประกอบการและนวัตกร ที่กำลังมองหาโอกาสในการสร้างเครือข่ายและแบ่งปันแนวคิดกับผู้นำทางความคิดคนอื่นๆ ในแวดวงของเทคโนโลยีที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม